นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)

‘สพฐ.’ ปักหมุด ‘สระแก้วโมเดล’ สร้างโรงเรียนคุณภาพ

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ว่า หลังจากเปิดเรียนในรูปแแบบออนไซต์ 100% มาตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พบปัญหาอุปสรรคหลายประการ เช่น เด็กทำร้ายตนเอง เด็กทำร้ายคนอื่น ปัญหาค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองที่มีมากขึ้น ปัญหาเรื่องทรงผม เครื่องแบบของนักเรียน พฤติกรรมคำพูดครู และผู้บริหาร เป็นต้น ตนจึงเน้นย้ำกับผู้อำนวยการเขตพื้นที่ฯ โรงเรียน ผู้บริหารและครู ไปว่า ตลอด 2 ปี มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เราได้ปรับบ้านเป็นโรงเรียน เปลี่ยนพ่อแม่เป็นครู ส่วนครูเป็นผู้สนับสนุนส่งเสริมการสอน แต่เมื่อเปลี่ยนมาเรียนในห้องเรียนแล้ว เด็กอาจจะปรับตัวไม่ได้

นายอัมพรกล่าวต่อว่า ดังนั้นในช่วง 3 เดือนแรก ขอให้พักการเรียนการสอนที่เน้นเนื้อหาวิชาการ แต่ให้ครูปรับตัวเองเป็นพ่อแม่ เปลี่ยนโรงเรียนเป็นบ้าน เพื่อให้เด็กมีความสุขในการมาโรงเรียน ตนมอบหมายให้เขตพื้นที่ฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและประเมินและให้ความช่วยโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความสบายใจในทุกด้าน โดยมีเป้าหมายว่าโรงเรียนต้องเป็นบ้านแห่งความสุข และนักเรียนได้เรียนอย่างสนุก เมื่อนักเรียนมีความสุขแล้ว โรงเรียนต้องต่อยอดส่งเสริมนักเรียนในด้านต่างๆ โดยดูแลนักเรียนเป็นรายบุคคล เช่น หากพบนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษให้ต่อยอดเสริมความรู้ให้นักเรียนตามความถนัด ส่วนเด็กปกติต้องส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ในบริบทที่ควรจะเป็น และหากพบเด็กพิการ เด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษา เด็กที่มีภาสะถดถอยทางการเรียนรู้ ต้องดูแลให้เด็กได้รับการเรียรรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายอัมพรกล่าวต่อว่า ขอให้เขตพื้นที่ฯ ลงพื้นที่สำรวจโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คน โดยจากข้อมูลวันที่ 10 มิถุนายน 2564 พบว่าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีโรงเรียนในสังกัด จำนวน 29,583 แห่ง และเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนจำนวน ตั้งแต่ 120 คนลงมา จำนวน 14,958 แห่ง แบ่งดังนี้

แก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก

  • โรงเรียนที่มีนักเรียน 0 คน มี 286 แห่ง
  • โรงเรียนที่มีนักเรียน 1-20 คน มี 782 คน
  • โรงเรียนที่มีนักเรียน 21-40 คน มี 2,065 แห่ง
  • โรงเรียนที่มีนักเรียน 41-60 คน มี 3,578 แห่ง
  • โรงเรียนที่มีนักเรียน 61-80 คน มี 3,382 แห่ง
  • โรงเรียนที่มีนักเรียน 81-100 คน มี 2,821 คน
  • โรงเรียนที่มีนักเรียน 101-120 คน มี 2,044 แห่ง

เพื่อวางแผนผลักดันโครงการโรงเรียนคุณภาพของชุมชน โดยให้เขตพื้นที่ฯ สร้างความเข้าใจกับชุมชน ดึงองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วม และรับรู้ว่าทำไม สพฐ.จึงต้องการสร้างโรงเรียนคุณภาพ โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าต้องสร้างโรงเรียนคุณภาพ 1 ตำบล ต่อ 1 แห่ง ดังนั้น ขอให้เขตพื้นที่ฯ ลงไปปักหมุดให้ได้ว่าจะกำหนดโรงเรียนคุณภาพกี่แห่งจึงจะครอบคลุมพื้นที่ของตน

“ถ้าเราขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพชุมชนสำเร็จ จะสามารถตอบโจทย์สังคมได้ว่าโรงเรียนทั่วประเทศมีคุณภาพไม่แตกต่างกัน โรงเรียนขนาดเล็กที่มีอยู่แม้เด็กจะเหลือน้อยก็ไม่จำเป็นต้องไปยุบ แต่สามารถไปใช้ทรัพยากรร่วมกันกับโรงเรียนคุณภาพชุมชนได้ นอกจากนี้ สพฐ.ต้องการเสนอภาพความสำเร็จ ว่าปัจจุบันนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นำไปสู่การปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น จะเห็นจากสระแก้วโมเดล ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพของชุมชน ผมจึงชูสระแก้วโมเดล เป็นตัวอย่างให้เขตพื้นที่ฯ อื่นๆ ไปสู่การปฏิบัติต่อไป” นายอัมพรกล่าว

เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า ส่วนข้อมูลโรงเรียนขนาดเล็ก 286 แห่ง ที่มีนักเรียน 0 คนนั้น มองว่าเป็นภาพความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพของชุมชน เพราะคนในชุมชนไม่ประสงค์ให้ลูกหลานไปเรียนโรงเรียนเหล่านั้นแล้ว โดยผู้ปกครองให้นักเรียนไปเรียนที่โรงเรียนคุณภาพชุมชนแทน ส่วนการยุบโรงเรียนที่ไม่มีนักเรียนอยู่ จะต้องมีการทำความเข้าใจกับคนในชุมชนและดูบริบทหลายอย่าง เช่น คนในชุมชนยังไม่อยากให้ยุบ หรือที่ดินของโรงเรียนบางแห่งได้รับบริจาคมา หรือเป็นที่ดินของหน่วยงานอื่น เป็นต้น ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องมาหารือร่วมกัน ว่าจะนำโรงเรียนเหล่านี้ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างในอนาคต เช่น เป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับคนทุกช่วงวัย เป็นต้น

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติใได้ที่ secondcomingmission.com

ufa slot

Releated